ประวัติของโปรแกรม SPSS, โปรแกรม LISRELและ โปรแกรม AMOS
โปรแกรม
SPSS
โปรแกรม SPSS
ย่อมาจาก Statistical Package for the Social Science for Windows เป็นโปรแกรมสําเร็จรูปที่ใช้สําหรับการวิเคราะหาข้อมูลทางสถิติ
พัฒนาโดยบริษัท SPSS Inc. ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยโปรแกรมนี้เป็นโปรแกรมที่มีประสิทธิภาพสูง ในการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ
และการจัดการข้อมูลต่าง ๆ ผู้ใช้โปรแกรมสามารถวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติประเภทต่าง
ๆ และแสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูลออกมาในรูปของตาราง หรือแผนภูมิชนิดต่าง ๆ ได้ทั้งแบบ
๒ มิติ และ ๓ มิติ การใช้งานโปรแกรมไม่ซับซ้อน เหมาะสำหรับผู้ใช้ที่ต้องการประมวลผลข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำและรวดเร็ว
โดยความสำคัญของโปรแกรมนี้มีอยู่
2 หัวข้อใหญ่ๆได้แก่
1. มีความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคทางสถิติ
โดยสามารถวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคทางสถิติเบื้องต้น เช่น ค่าเฉลี่ย
ร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ค่าฐานนิยม ค่าแสดงตำแหน่งของข้อมูล
เช่น ควอไทล์ การนำเสนอข้อมูลในรูปของกราฟ การแจกแจงความถี่ในรูปของตาราง
การวิเคราะห์ข้อมูลแบบ Multiple Response
2. มีความสามารถในการจัดการกับข้อมูล
และผลลัพธ์ ในรูปของตารางและกราฟ
ซึ่งโปรแกรม SPSS สามารถที่จะดำเนินการจัดการเกี่ยวกับข้อมูลในลักษณะต่าง
ๆ ต่อไปนี้
-การเปลี่ยนรูปข้อมูล (Data
Transformation)
-การเลือกข้อมูล (Select
Case)
-การจัดการกับไฟล์ข้อมูล
-การดำเนินการกับข้อมูลในลักษณะอื่น ๆ
ผลลัพธ์ที่ได้จากโปรแกรม SPSS นอกจากใช้ คุณสมบัติทั่ว ๆ ไป คือ คัดลอก ย้าย
และลบได้แล้ว ผู้ใช้ยังสามารถดำเนินการส่งผลลัพธ์ไปใช้ในโปรแกรมอื่น ๆ
ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น แบบ Text แบบ Graphics แบบ HTMLวินโดวส์ที่มีอยู่ในโปรแกรม SPSS ได้อีกด้วย
โปรแกรม LISREL
โปรแกรม LISREL ย่อมาจาก Linear Structure Relationship
Model: LISREL Model หรือโมเดลลิสเรล เป็นโมเดลที่แสดงถึงความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ
(causal relationship) ระหว่างตัวแปรภายนอก (exogenous
variable) และตัวแปรภายใน (endogenous variable) ตามทฤษฎีที่นักวิจัยศึกษามา โดยความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างตัวแปรแฝงในโมเดล
ซึ่งแสดงในรูปแบบของโมเดลโครงสร้าง (Structural Model) ที่มีประโยชน์ในการนำมาใช้แก้ปัญหาทางการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์
นอกจากนี้ยังมีประโยชน์ในการศึกษาทางด้านเศษฐศาสตร์มหภาค พฤติกรรมผู้บริโภค
และอื่นๆ วิธีการนี้รวมไปถึงการวิเคราะห์สาเหตุเชิงเส้นตรง ( Linear Causal Analysis ) , การวิเคาระห์อิทธิพล
( Path Analysis) , การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ ฯลฯ
โดยโมเดลสมการโครงสร้างนี้ใช้ในการศึกษาภายใต้ปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นในเทอมของตัวแปรเหตุและผลและตัวบ่งชี้
เพราะแต่ละสมการในโมเดลจะแสดงการเชื่อมโยงเชิงสาเหตุมากกว่าความสัมพันธ์เชิงประจักษ์
หากคุณลักษณะที่ต้องการวัดเป็นนามธรรม เช่น พฤติกรรมของบุคคล, เจตคติ,
ความรู้สึกและแรงจูงใจ โดยมากในการวัดจะมีความคลาดเคลื่อนในการวัดรวมอยู่ด้วย และโมเดลการวัดจะต้องแสดงความคลาดเคลื่อนในการวัดด้วย
ลักษณะของโมเดลลิสเรล มี 2 แบบ ดังนี้
1.โมเดลการวัด (measurement model )
1.โมเดลการวัด (measurement model )
เป็นโมเดลที่แสดงความเกี่ยวข้องกันระหว่างตัวแปรแฝง
(latent or unobserved
variable) กับตัวแปรสังเกต (measured
หรือ observed
variable) โดยตัวแปรสังเกต เป็นตัวแปรที่สามารถวัดหรือสังเกตได้
โดยใช้เครื่องมือที่นักวิจัยสร้างขึ้น สัญลักษณ์ของตัวแปรสังเกตคือ
สี่เหลี่ยมส่วนสัญลักษณ์ของตัวแปรแฝงคือ วงกลมหรือวงรี
2 2. โมเดลโครงสร้าง (structural model )
เป็นโมเดลที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรแฝง
โดยตัวแปรแฝง (latent or unobserved variable) เป็นตัวแปรที่ไม่สามรถวัดได้โดยตรง แต่มีโครงสร้างตามทฤษฎีที่แสดงผลออกมาในรูปของพฤติกรรมที่สามารถสังเกตได้
ซึ่งวัดได้จากตัวแปรสังเกต และประมาณค่าตัวแปรแฝงจากการนำกลุ่มตัวแปรสังเกตที่เป็นตัวบ่งชี้ของตัวแปรแฝงนั้นมาวิเคราะห์องค์ประกอบ
(factor analysis) สัญลักษณ์ของตัวแปรแฝงคือวงกลใหรือวงรี
ขั้นตอนการสร้างโมเดลลิสเรล
จากการศึกษางานวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์ที่ผ่านมาพบว่า
หากเป็นงานวิจัยเชิงปริมาณที่นัดวิจัยต้องการอธิบายความแปรปรวนของคะแนนตัวแปรตาม
ด้วยตัวแปรปัจจัยต่างๆ
และศึกษษอิทธิพลเชิงสาเหตุทั้งทางตรงและทางอ้อมของปัจจัยต่างๆ ที่มีต่อตัวแปรตามหรือตัวแปรหลัก
โมเดลลิสเรลเป็นโมเดลการวิเคราะห์ที่สามารถตอบคำถามการวิจัยได้อย่างครอบคลุม
โดยการสร้างหรือการพัฒนาโมเดลลิสเรลนั้น
เริ่มแรกนักวิจัยจะต้องเริ่มจากการกำหนดประเด็นหลักของการวิจัยหรือตัวแปรหลักในการวิจัย
จากนั้นจึงเริ่มศึกษาทฤษฎี แนวคิด และเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
เพื่อที่จะนำมาสร้างเป็นกรอบแนวคิดการวิจัยและกำหนดโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ
เมื่อโมเดลมีตัวแปรที่ชัดเจนแล้ว
นักวิจัยจึงเริ่มสร้างและพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เก็บรวบรวมข้อมูลและนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เพื่อทำการทดสอบว่าโมเดลที่สร้างขึ้นตามทฤษฎีมีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์หรือไม่
และขั้นตอนสุดท้ายก็คือการสรุปผลการวิจัย
โปรแกรม AMOS
โปรแกรม AMOS ย่อมาจาก Analysis of
Moment Structures เป็นโปรแกรมสำเร็จรูปที่ช่วยในการสร้างโมเดลสมมติฐาน
เพื่อพิสูจน์การยอมรับหรือปฎิเสธโมเดล
โดยทำงานควบคู่กับข้อมูลที่ได้บันทึกไว้ในโปรแกรม SPSS หรือเรียกได้ว่าเป็น
โปรแกรมเสริมที่ทำให้สร้างแบบจำลองของสมการโครงสร้างและโครงสร้างความแปรปรวนร่วม การวิเคราะห์อิทธิพล,
และมีความสามารถพื้นฐานเพิ่มเติม เช่น การวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้น,
ANOVA และ ANCOVA
ประเภทของโมเดลสมการโครงสร้าง
โดยทั่วไปจะสามารถแบ่งโมเดลสมการโครงสร้างออกได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้
ประเภทของโมเดลสมการโครงสร้าง
โดยทั่วไปจะสามารถแบ่งโมเดลสมการโครงสร้างออกได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้
1.
การวิเคราะห์เส้นทาง (Path Analysis)
2.
การวิเคราะห์ปัจจัยเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor
Analysis: CFA)
3.
โมเดลโครงสร้าง (Structural Regression Model: SR)
4.
โมเดลโค้งการพัฒนา (Latent Growth Model: LGM)
โปรแกรม AMOS มีความสำคัญอยู่ตรงที่มีการใช้งานง่าย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหมาะสำหรับนักวิจัยที่ไม
ชำนาญในการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ต้องเขียนคำสั่งในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก ซึ่งใช้งานง่ายกว่า
โปรแกรม LISREL และหากมีความคุ้นเคยกับการใช้โปรแกรม SPSS ก็จะสามารถใช้โปรแกรม AMOS ได้สะดวกมากยิ่งขึ้น และข้อมูลก็สามารถใช้ร่วมกันได้โดยไม่ต้องแปลงไฟล์ข้อมูลแต่อย่างใด
ชำนาญในการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ต้องเขียนคำสั่งในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก ซึ่งใช้งานง่ายกว่า
โปรแกรม LISREL และหากมีความคุ้นเคยกับการใช้โปรแกรม SPSS ก็จะสามารถใช้โปรแกรม AMOS ได้สะดวกมากยิ่งขึ้น และข้อมูลก็สามารถใช้ร่วมกันได้โดยไม่ต้องแปลงไฟล์ข้อมูลแต่อย่างใด
แหล่งที่มา
เครดิตรูภาพ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น